บอย

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คีย์ต่างๆ

คีย์ (Key)
ในการอ้างอิง การค้นหา  การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล หรือการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล  จะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องกำหนด คีย์ (Key) ให้กับ Table ก่อน นอกจากนี้การกำหนดคีย์จะทำให้การอ้างอิงและการประมวลผลข้อมูลได้สะดวกขึ้นและยังช่วยประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บ  คีย์ที่ใช้ในระบบฐานข้อมูลแบ่งออกได้หลายประเภท  ดังต่อไปนี้
                   1.  Primary  Key  หมายถึง  คีย์หลักที่กำหนดจากฟิลด์ที่ไม่มีข้อมูลซ้ำซ้อน (unique) ใน Table เดียวกันโดยเด็ดขาด  และจะต้องมีค่าเสมอ  จะเป็นค่าว่าง (Null) ไม่ได้  สามารถนำมาจัดเรียงลำดับและแยกแยะข้อมูลแต่ละรายการออกจากกันได้เป็นอย่างดี  ตัวอย่างของข้อมูลที่นำมากำหนดเป็นคีย์หลัก ได้แก่ รหัสนักเรียน, รหัสสินค้า, หมายเลขห้องพัก, รหัสวิชา ฯลฯ

                   2.  Secondary  Key  หมายถึง คีย์รอง  โดยโปรแกรม Access จะเรียกคีย์ชนิดนี้ว่า Index (ดัชนี) ซึ่งเป็นคุณสมบิตหนึ่งในการกำหนดคีย์หลัก (Primary Key)  และยังใช้ Index ในการค้นหาและจัดเรียงรายการข้อมูลที่มีจำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว ตัวอย่างเช่น  ถ้าต้องการค้นหาฟิลด์ชื่อพนักงาน  ถ้าฟิลด์ดังกล่าวไม่กำหนด Index  ไว้โปรแกรมจะเริ่มต้นตั้งแต่รายการแรกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งพบ  ดังนั้น ถ้าชื่อพนักงานที่ต้องการค้นหาอยู่รายการท้าย ๆ จะเสียเวลาในการสืบค้น  โดยเฉพาะข้อมูลที่มีจำนวนมากๆ ถ้ากำหนด Index ให้กับฟิลด์ดังกล่าว  ฟิลด์ชื่อพนักงานจะถูกเก็บในแฟ้ม Index ของ DBMS และ จะจัดเรียงชื่อตามลำดับตัวอักษร  เมื่อมีการสืบค้นก็จะค้นหาที่แฟ้ม Index เพื่อทราบตำแหน่งรายการที่ต้องการและเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว  ฟิลด์ที่กำหนดเป็น Index จะยอมให้ข้อมูลซ้ำกันได้ (Duplicate)
                  3.  Foreign Key  หมายถึง  คีย์นอก  เป็นคีย์ที่เชื่อม Table ที่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กัน  เช่น  ใน Table หลักสูตร กำหนดให้รหัสวิชาเป็น Primary Key และทำการเชื่อมโยงไปยัง Table ลงทะเบียนเพื่อต้องการทราบชื่อวิชาและหน่วยกิตที่นักเรียนลงทะเบียน  โดยกำหนดฟิลด์  รหัสวิชา  ใน Table ลงทะเบียนเป็น Foreign Key ในลักษณะความสัมพันธ์ One to Many หมายความว่า รหัสวิชา  1 วิชา สามารถให้นักเรียนลงทะเบียนได้มากกว่า 1 คน  ดังนั้นจึงมีรหัสซ้ำกันได้ใน Table ลงทะเบียน
                   4.  Candidate  Key  หมายถึง  คีย์ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับคีย์หลัก (Primary Key) หรือสามารถแทนคีย์หลักได้  เช่น  ในตารางพนักงาน  กำหนดให้รหัสพนักงานเป็นคีย์หลัก  ซึ่งมีค่าไม่ซ้ำกัน  แต่พบว่าหมายเลขบัตรประชาชนของพนักงานก็มีค่าไม่ซ้ำกัน  ดังนั้น  หมายเลขบัตรประชาชนมีลักษณะเป็น Candidate  Key  ซื่งสามารถนำมาเป็นคีย์สำรองแทนคีย์หลักได้
ข้อดีในการใช้ระบบฐานข้อมูล
1.             ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
เมื่อมีข้อมูลหลายที่ แต่ละหน่วยงานจัดเก็บข้อมูลเอง อาจมีข้อมูลในส่วนที่เหมือนกัน หลายส่วน เช่น ฝ่ายบัญชี เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ของพนักงาน และ ฝ่ายบุคคล เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ของพนักงาน เมื่อนำคอมพิวเตอร์มาใช้จัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูลจะทำให้ไม่เก็บข้อมูลซ้ำซ้อนกัน
2.             ทำให้เกิดความสอดคล้องของข้อมูล
จากตัวอย่างในกรณีข้างบนนี้ ถ้ามีการแก้ชื่อนามสกุลที่ ฝ่ายบุคคล ชื่อและนามสกุลที่ฝ่ายบัญชีก็จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วย เนื่องจาก ฝ่ายบัญชีจะดึงข้อมูลชื่อ-นามสกุล จากฝ่ายบุคคลมาใช้ ดังนั้นเมื่อมีการแก้ไขข้อมูลในที่ใดที่หนึ่ง ข้อมูลอีกที่หนึ่งก็จะถูกเปลี่ยนไปด้วย
3.             ข้อมูลสามารถใช้ร่วมกันได้
การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน จะสามารถกำหนดรูปแบบ ที่แน่นอนได้ และ สามารถใช้รวมกันกับหน่วยงานอื่นเพราะ เป็นมาตรฐานเดียวกัน
4.             มีความปลอดภัย
การที่ข้อมูลมารวมอยู่ในที่เดียวกัน สามารถวางมาตรฐานในการแก้ไข และ ป้องกันได้ดีกว่า จึงไม่มีการรั่วไหลของข้อมูลไปสู่ผู้ไม่ควรรู้
5.             สามารถขจัดความขัดแย้งในการใช้ข้อมูลร่วมกัน
ก่อนที่จะมีการจัดเก็บข้อมูลต้องมีการตกลงรูปแบบ การเก็บ อย่างเป็นเอกฉันท์เสียก่อน ทำให้ไม่เสียเวลาในการพัฒนาระบบฐานข้อมูล
1.ขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูล
     การออกแบบฐานข้อมูล สามารถเขียนขั้นตอนคร่าวๆได้ดังนี้
รูปที่4.1 ขั้นตอนการออกแบบฐานข้อมูล
     จากรูปที่4.1เป็นการอธิบายขั้นตอนในการออกแบบฐานข้อมูล ซึ่งมีการออกแบบอยู่3 ระดั คือConcetual Design,Logical Design,Physical Design โดยมีขั้นตอนการออกแบบดังนี้
     Database Requirements เป็นการวิเคราะห์ความต้องการของฐานข้อมูลที่ต้องการออกแบบซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนท่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเนื่องจาก หากเราไม่สามารถวิเคราะห์หาความต้องการของฐานข้อมูลได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนแล้ว จะทำให้ฐานข้อมูลที่เราออกแบบไม่สามารถรองรับการเก็บข้อมูล ได้ครบทั้งหมด ซึ่งอาจจะต้องมีการแก้ไขโครงสร้างของฐานข้อมูลใหม่ทำให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา
     1.การออกแบบในระดับแนวความคิด(Conceptual Design)
          
เป็นการออกแบบฐานข้อมูลในระดับของแนวความคิด คือ ถ่ายทอดโครงสร้างของฐานข้อมูลที่คิด ไว้ให้ออกมาอยู่ในรูปแบบที่สามารถมองเห็นเข้าใจได้ เช่น การใช้E-R Diagram เขียนโครงสร้างความสัมพันธ์ของข้อมูลในฐานข้อมูล ซึ่งผลลัพธ์ของการออกแบบในระดับแนวความคิด ก็จะได้โมเดลหรือโครงสร้างของฐานข้อมูลในระดับแนวความคิด เช่นได้ E-R Dtagram ของฐานข้อมูล
     2.การออกแบบในระดับลอจิก(Logical Design)
  
        คือ การออกแบบฐานข้อมูล โดยนำโครงสร้างฐานข้อมูลในแนวความคิดมาออกแบบ ให้เป็นโครงสร้างของฐานข้อมูลเพื่อใช้งาน โดยการออกแบบจะอ้างอิง
ตาม ซอฟต์แวรฐานข้อมูลที่ใช้ว่ามีโครงสร้าง ประเภทข้อมูล อย่างไรบ้าง ผลลัพธ์จากการออกแบบนี้ จะได้โครงสร้าง ที่พร้อมจะนำไปสร้างเป็นโครงสร้างของฐานข้อมูล
ต่อไป
     3.การออกแบบในระดับกายภาพ(Physical Design)
          
คือการสร้างฐาานข้อมูล เพื่อเก็บข้อมูล โดยซอฟต์แวร์ฐานข้อมูลเป็นตัวจัดการ เช่นการสร้างโครงสร้างการจัดก็บต่างๆในฮาร์ดดิสก์
จากขั้นตอนในการออกแบบฐานข้อมูล สามารถสรุปขั้นตอนการปฎิบัติได้ดังรูปที่4.2

รูปที่4.2 ขั้นตอนการปฎิบัติในการออกแบบฐานข้อมูล
สรุปขั้นตอนปฎิบัติในการออกแบบฐานข้อมูล
1.ออกแบบโครงสร้างฐานข้อมูลด้วย E-R Diagram
2.เลือกซอฟต์แวร์ระบบจัดการฐานข้อมูล
3.แปลงจาก E-R Diagram ให้เป็นโครงสร้างฐานข้อมูล ตาม DBMS ที่เลือก
4.สร้างฐานข้อมูลตามโครงสร้างที่ออกแบบ
แนะนำเว็บไซต์ทางด้านเกษตร
แนะนำเว็บไซต์ที่สำคัญเกี่ยวกับการศึกษา
เนื้อหาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น